นายพิทักษ์พล บุณยมาลิก เลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เปิดเผยว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้รับเรื่องร้องเรียนจากสมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย ระบุว่า ผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้หญิงข้ามเพศรายหนึ่ง ไปบริจาคโลหิตกับศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย เมื่อปี 2562 แต่ได้รับแจ้งว่าไม่สามารถบริจาคโลหิตได้ แม้มีใบรับรองผลการตรวจหาเชื้อเอชไอวีที่เป็นลบ เนื่องจากกลุ่มบุคคลหลากหลายทางเพศ เป็นกลุ่มประชากรหลักที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี (HIV) และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
ศูนย์บริการโลหิตฯ จึงปฏิเสธที่จะรับบริจาคโลหิตของบุคคลข้ามเพศ กะเทย ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายเป็นการถาวรตามระเบียบของสภากาชาดสากล ซึ่งสมาคมฯ เห็นว่าการบริจาคโลหิตควรเป็นสิทธิส่วนบุคคลที่จะได้รับการคัดกรองโดยไม่เลือกปฏิบัติและไม่ตีตราบุคคลอันเป็นการจำกัดสิทธิและลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
โดย กสม. เห็นว่า ศูนย์บริการโลหิตฯ ในฐานะที่เป็นธนาคารโลหิตแห่งชาติ มีหน้าที่อยู่บนหลักความรับผิดชอบสูงสุดที่จะต้องคำนึงถึงมาตรฐานและความปลอดภัยของโลหิตที่จะนำไปรักษาผู้ป่วยเป็นประการสำคัญที่สุด รวมทั้งต้องสร้างสภาวะที่ประกันการบริการทางการแพทย์และการดูแลรักษาพยาบาลอย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานสูงสุดเท่าที่เป็นไปได้ จึงเป็นเหตุให้ศูนย์บริการโลหิตฯ ปฏิเสธไม่รับบริจาคโลหิตของผู้เสียหาย เนื่องจากผู้เสียหายได้ตอบแบบสอบถามการคัดกรองว่ามีประวัติการมีเพศสัมพันธ์กับชายเพศเดียวกัน
อย่างไรก็ดี การสอบถามประวัติด้านเพศสัมพันธ์สำหรับทุกคน ควรมุ่งถามถึงลักษณะพฤติกรรมเพศสัมพันธ์ที่มีความเสี่ยงรายบุคคล เช่น การมีเพศสัมพันธ์ผ่านทางทวารหนัก การไม่ใช้ถุงยางอนามัย ในกรณีที่มิใช่คู่ของตน เป็นต้น โดยไม่มีความจำเป็นต้องเชื่อมโยงกับกลุ่มประชากรหลักที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี นอกจากนี้ ลักษณะคำถามที่ถามประวัติด้านเพศสัมพันธ์ของชายที่เคยมีเพศสัมพันธ์กับชาย อาจเป็นประเด็นที่อ่อนไหวต่อการสื่อสาร ที่ทำให้เข้าใจได้ว่า เป็นการตีตรากลุ่มบุคคลหลากหลายทางเพศ และสุ่มเสี่ยงต่อการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมด้วยเหตุแห่งสภาพบุคคล ซึ่งอาจจะนำไปสู่การละเมิดสิทธิมนุษยชน
สภากาชาดฯ ชวนร่วมวิจัย ผลักดันชายรักชายบริจาคเลือดได้
กสม. ออกแถลงการณ์ห่วงเยาวชน อดอาหารประท้วง จี้ทุกฝ่ายร่วมหาทางออก
อย่างไรก็ดี กสม. เห็นว่า กลุ่มบุคคลหลากหลายทางเพศไม่ควรถูกปิดกั้นการบริจาคโลหิตเป็นการถาวรอันเนื่องมาจากการประเมินความเสี่ยงด้วยฐานข้อมูลสถิติกลุ่มประชากร หรือพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ โดยทราบว่า ขณะนี้ ศูนย์บริการโลหิตฯ อยู่ระหว่างการศึกษาวิจัยความเสี่ยงในการถ่ายทอดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ผ่านโลหิตของชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายและศึกษาช่วงเวลางด/เลื่อนการบริจาคโลหิต ที่ปลอดภัยสำหรับชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายผู้มีความเสี่ยงต่ำ ซึ่งผลการศึกษาวิจัยดังกล่าวจะนำมาปรับใช้เป็นคำถามในการคัดกรองและประเมินความเสี่ยงในการรับบริจาคโลหิตเป็นรายบุคคลให้สอดคล้องกับแนวทางการคัดกรองการรับบริจาคโลหิตขององค์การอนามัยโลกได้คำพูดจาก สล็อตทรูวอเลท
ด้วยเหตุผลข้างต้น กสม. จึงเห็นควรมีข้อเสนอแนะในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนต่อศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย สรุปได้ดังนี้ ให้ศูนย์บริการโลหิตฯ ปรับปรุงใบสมัครผู้รับบริจาคโลหิตและคู่มือการคัดเลือกผู้บริจาคโลหิตโดยมุ่งเน้นสอบถามลักษณะพฤติกรรมเพศสัมพันธ์ที่มีความเสี่ยงสำหรับทุกเพศทุกวัย และหลีกเลี่ยงการเชื่อมโยงไปยังกลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีตามฐานข้อมูลสถิติกลุ่มประชากร รวมถึงกลุ่มบุคคลหรือกลุ่มอาชีพ
นอกจากนี้ให้เร่งรัดการศึกษาวิจัยเพื่อกำหนดช่วงเวลางด/เลื่อนการบริจาคโลหิต (deferral period) ที่ปลอดภัยสำหรับผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ และนำผลการศึกษาวิจัยมาใช้ประกอบการพิจารณาผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศให้สามารถบริจาคโลหิตได้ภายใต้เงื่อนไขการกำหนดระยะเวลารอคอย