หากพูดถึง “ทุเรียน” ราชาแห่งผลไม้แล้ว คงเรียกได้ว่าเป็นผลไม้ที่ใครชอบก็ชอบมาก ใครเกลียดก็เกลียดมาก แต่หนึ่งในสาวกทุเรียนเลิฟเวอร์เชื่อว่าคงหนีไม่พ้น “ชาวจีน”
นั่นคือโอกาสของประเทศไทยในฐานะผู้ผลิตทุเรียนรายสำคัญ ทำให้ประเทศจีนมีการนำเข้าทุเรียนจากไทยจำนวนมากในแต่ละปี ในขณะเดียวกัน นักท่องเที่ยวชาวจีนที่มาท่องเที่ยวไทย หากมาแล้วไม่ซื้อทุเรียนก็เรียกได้ว่าเหมือนมาไม่ถึง
อย่างไรก็ตาม จากความสำเร็จของไทยและความต้องการที่เพิ่มขึ้นในจีน ทำให้มีหลายประเทศก้าวเข้ามาเล่นในสนามการแข่งขันส่งออกทุเรียนมากขึ้นในเอเชีย โดยเฉพาะคู่แข่งคนสำคัญของไทยในขณะนี้อย่าง “เวียดนาม”
เจรจา 7 ปี ออสเตรเลียไฟเขียวนำเข้า เป็ดปรุงสุก จากไทย
ไทยพร้อมจับมือจีน เจาะตลาดพลังงานและดิจิทัลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
หากจีนผลิต “ทุเรียน” ได้เอง จะส่งผลกระทบอะไรต่ออาเซียน? คำพูดจาก สล็อต888
บ็อบ หวัง ผู้ก่อตั้ง TWT Supply China ซึ่งมีผู้ประกอบการขนส่งทั้งแบบเป็นเจ้าของเองและรับจ้างมากกว่า 3,000 รายทั่วประเทศจีน กล่าวว่า เขานำเข้าทุเรียนไทยมานานกว่า 8 ปี แต่ปัจจุบันได้ทำข้อตกลงกับฟาร์มทุเรียนของเวียดนามซึ่งมีพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมดประมาณ 18,750 ไร่ และกำลังสั่งซื้อเท่าที่สามารถจัดหาได้เพื่อนำเข้าไปยังจีน
“หากทุกอย่างเป็นไปได้ด้วยดี ผมจะนำเข้าทุเรียนเวียดนามมากกว่า 3,000 ตู้คอนเทนเนอร์ หรือ 60,000 ตันในปีนี้เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดจีน ซึ่งคิดเป็น 3 เท่าของการนำเข้าจากไทยของบริษัทผม” หวังกล่าว
ทุเรียนเป็นผลไม้นำเข้ายอดนิยมของจีน แม้จะมีการควบคุมการนำเข้าที่จำกัดอย่างมากในช่วงที่มีโควิด-19 ระบาด แต่จีนก็นำเข้าทุเรียนมากถึง 4 เท่าในปี 2022 เมื่อเทียบกับปี 2017 คิดเป็นมูลค่ารวมมากกว่า 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (เกือบ 1.4 แสนล้านบาท)
หวังบอกว่า “ปีที่แล้ว จีนนำเข้าทุเรียนมากกว่า 820,000 ตัน ผมค่อนข้างมั่นใจว่ายอดนำเข้าทั้งหมดจะสูงถึงหรือเกิน 900,000 ตันในปีนี้อย่างง่ายดาย”
ทุเรียนจากประเทศไทยครองตลาดจีนมานานหลายปี แต่ปัจจุบันกำลังถูกท้าทายจากเวียดนามและประเทศอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมาเลเซียและฟิลิปปินส์เองก็กำลังหาทางขยายการส่งออกทุเรียนไปยังจีน
“การนำเข้าจากไทยคาดว่าจะเติบโตอย่างต่อเนื่องในปีนี้ ในขณะที่ส่วนแบ่งการตลาดของทุเรียนเวียดนามในจีนจะเติบโตแบบระเบิดระเบ้อ” หวังกล่าว โดยบอกว่า ในปี 2022 จีนนำเข้าทุเรียนจากประเทศไทย 780,000 ตัน
ผู้ค้าปลีกผลไม้ชาวจีนรายหนึ่งอธิบายว่า “ทุเรียนไทยมีราคาแพง แต่รสชาติดีกว่าและเนื้อแน่นกว่า ขณะที่ทุเรียนเวียดนามได้รับการต้อนรับอย่างรวดเร็วเพราะราคาถูกกว่า”
หวังเสริมว่า ทุเรียนเวียดนามมีราคาถูกกว่าทุเรียนไทยประมาณ 15%
ศักยภาพทางการตลาดที่เพิ่มขึ้นของทุเรียนในจีนได้ผลักดันให้เมืองต่าง ๆ ในเขตปกครองตนเองกว่างซี ซึ่งมีพรมแดนติดกับเวียดนาม ตัดสินใจเสริมกำลังด้านโลจิสติกส์เพื่ออำนวยความสะดวกในการนำเข้าทุเรียนจากเพื่อนบ้าน
หลิว เย่เค่อ รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนาและปฏิรูปเมืองฉงจั่ว ซึ่งเป็นเมืองชายแดนของกว่างซี บอกว่า ขณะนี้กำลังสร้างศูนย์โลจิสติกส์ขั้นสูงที่มีคลังสินค้า ห้องเย็น และโรงงานแปรรูปอาหาร เพื่อยกระดับกระบวนการนำเข้า
เขากล่าวว่า การลงทุนระยะแรกจะสูงถึง 1.8 พันล้านหยวน (8.8 พันล้านบาท) และจะใช้งานจริงภายในปี 2025 โดยการปรับปรุงการนำเข้าจะช่วยให้ทุเรียนของเวียดนามสามารถกระจายไปยังทุกพื้นที่ของจีนได้ภายใน 1-3 วัน
หวง เหวินหาน หัวหน้างานขนส่งสินค้าสาขาผิงเซียงของ China Railway Nanning Bureau Group บอกว่า ตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา มีรถไฟบรรทุกสินค้าข้ามพรมแดน 2 ขบวนต่อวันเพื่อขนส่งผลไม้จากเวียดนามผ่านเมืองชายแดนผิงเซียง ซึ่งบริหารโดยฉงจั่วอีกที
“ผลไม้ที่ขนส่งส่วนใหญ่เป็นทุเรียนและมังคุด เนื่องจากเป็นผลไม้ที่ให้ผลกำไรมากที่สุดในบรรดาผลไม้เมืองร้อน” หวงกล่าว
ด้าน เฉิน เซียว ผู้อำนวยการศูนย์บริการท่าเรือตงซิงในกว่างซี คาดว่า การนำเข้าทุเรียนจากเวียดนามจะเติบโตอย่างมากในปีนี้ “เมื่อก่อนท่าเรือของเราเน้นนำเข้าอาหารทะเลเป็นหลัก แต่ปีนี้ การนำเข้าทุเรียนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ตอนนี้เป็นช่วงพีคของทุเรียนเวียดนาม และรถบรรทุกขนาดใหญ่หลายสิบคันที่เต็มไปด้วยทุเรียนก็เข้ามาที่ท่าเรือตงซิงทุกวัน”
ชายชาวเวียดนามเจ้าของฟาร์มผลไม้เล็ก ๆ ใกล้นครโฮจิมินห์รายหนึ่งบอกว่า ชาวจีนเริ่มลงทุนทำสวนทุเรียนในบ้านเกิดของเขามากขึ้น “ชาวสวนผลไม้จำนวนมากในเวียดนามหันมาปลูกทุเรียนเพราะสามารถทำกำไรได้มากกว่าเนื่องจากตลาดจีนมีความต้องการสูง”
เรียบเรียงจาก SCMP
ภาพจาก AFP