เนื่องจากตัวเลขทางด้านเศรษฐกิจต่าง ๆ ของไทยที่ออกมาค่อนข้างเป็นในเชิงลบ เช่น อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน ม.ค. 67 ติดลบต่อเนื่องมาเป็นเดือนที่ 4 และกระทรวงการคลังได้คาดว่าเศรษฐกิจไทย หรือจีดีพีปี 66 ที่ผ่านมาจะขยายตัวเพียง 1.8% ซึ่งต่ำกว่าที่ใครหลายคนคาดการณ์เอาไว้มาก
วิกฤติหรือยัง?*
นี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่รัฐบาลต้องการที่จะให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือแบงก์ชาติ โดยผ่านคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ประกาศลดดอกเบี้ยนโยบายให้โดยด่วน เพราะจะได้เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจอีกทางหนึ่ง ซึ่งรัฐบาลแสดงความเป็นห่วงว่าการที่เงินเฟ้อติดลบมานานนั้น อาจแสดงถึงภาวะเงินฝืดได้ จึงอยากให้ลดดอกเบี้ยเพื่อช่วยกระตุ้นกำลังซื้อ และช่วยเหลือภาระต้นทุนประชาชน
แต่มีอีกหลายมุมมองต่างวิเคราะห์กันว่า การที่รัฐบาลแสดงจุดยืนย้ำชัดว่า เศรษฐกิจไทยวิกฤติ ซึ่งความจริงแล้วแตกต่างจากมุมมองนักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ที่มองว่า เศรษฐกิจยังไม่เข้าขั้นวิกฤติ และยังไม่เข้าสู่ภาวะเงินฝืด แต่ที่สำคัญอาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ให้รัฐบาลดำเนินโครงการเงินดิจิทัลวอลเล็ตต่อไปได้ เพราะหากเศรษฐกิจไทยวิกฤติ ก็จะสามารถเป็นเหตุผลในการออก พ.ร.บ.กู้เงิน 500,000 ล้านบาท เพื่อมาแจก 10,000 บาทผ่านดิจิทัลวอลเล็ตได้
แรงกดดันการเมือง
ท่ามกลางแรงกดดันจากรัฐบาล และกระแสความขัดแย้งระหว่างตัวนายกฯเศรษฐา กับนายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการ ธปท. ที่ตลอดการดำรงตำแหน่งของนายกฯ เศรษฐา เข้ามาช่วงสั้น ๆ แต่แสดงออกชัดเจนว่า มีความขัดแย้งกับตัวผู้ว่าการ ธปท. และความเห็นในเรื่องสำคัญต่าง ๆ ของนโยบายรัฐบาล ไม่ค่อยสอดประสานกันเท่าไรนัก พูดง่ายๆ คือ เห็นต่างกันอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเรื่อง แจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต การจ่ายเงินชาวเหลือชาวนา และอัตราดอกเบี้ยที่อยู่สูง จนเก้าอี้ผู้ว่าการ ธปท. สั่นคลอน แม้จะรู้ว่าปลดยากแค่ไหนก็ตาม
โดยเฉพาะเรื่องอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นมาก จนกระทบกับภาระการเงินของประชาชนที่มีต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น ยิ่งคนกู้บ้านกระทบหนัก เมื่อดอกเบี้ยนโยบายขึ้นมา 2% ดอกเบี้ยเงินกู้บ้านก็เพิ่มจนเกือบเต็ม 2% ในขณะที่ดอกเบี้ยเงินฝากไม่ได้เพิ่มสูงจนเท่ากับฝั่งเงินกู้ และบางประเภทจ่ายดอกเบี้ยเงินฝากเป็นรายปี ต่างจากดอกเบี้ยบ้านจ่ายเป็นรายเดือน ทำให้ความสมดุลระหว่างดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ ไม่มีความสมดุลอยู่จริง
ทิศทางดอกเบี้ย
ในช่วงที่ผ่านมาดอกเบี้ยไทยอยู่ระดับต่ำมานาน เมื่อเริ่มเข้าสู่วิกฤติโควิด-19 โดยดอกเบี้ยนโยบายอยู่ระดับ 0.50% เท่านั้น ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เกิดวิกฤติเต็มขั้น คนตกงาน ขาดรายได้ ไม่มีเงินมาใช้หนี้ และจุนเจือใช้จ่ายในครัวเรือน ทำให้การลดดอกเบี้ยเป็นการประคองและช่วยเหลือค่าครองชีพ ควบคู่ไปกับมาตรการช่วยประชาชนต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคการเงิน
แต่พอวิกฤติโควิด-19 คลี่คลาย แบงก์ชาติ โดย กนง. ได้เริ่มปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายมาอย่างต่อเนื่อง เริ่มตั้งแต่ครั้งแรกวันที่ 10 ส.ค. 65 ขึ้น 0.25% มาอยู่ระดับ 0.75% และปรับขึ้นครั้งละ 0.25% ทุกรอบการประชุมรวมการขึ้น 8 ครั้ง เพิ่มมา 2% จนทำให้การประชุมรอบวันที่ 27 ก.ย. 66 คาดว่าเป็นการสิ้นสุดรอบดอกเบี้ยขาขึ้นและหยุดอยู่ที่ระดับ 2.50% ถือว่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ซึ่งในรอบหลังจากนั้นวันที่ 29 พ.ย. 66 กนง.ได้ประกาศคงดอกเบี้ยไว้ที่ 2.50% เป็นการหยุดดอกเบี้ยขาขึ้นอย่างแท้จริง
ทำให้ในปี 67 จะเป็นปีแห่งการเปลี่ยนแปลงของนโยบายการเงินไทย เพราะจะเป็นปีที่กำหนดทิศทางดอกเบี้ยไทยว่าจะควรอยู่ในระดับไหน จนการประชุมครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 7 ก.พ. 67 ที่ผ่านมา กนง.ประกาศคงดอกเบี้ยนโยบาย 2.50% อีกครั้ง แต่ในครั้งนี้ส่งสัญญาณสำคัญ เพราะ กนง.ทั้ง 7 คนมีเสียงไม่เป็นเอกฉันท์ โดยมี 5 เสียงให้คงดอกเบี้ย แต่อีก 2 เสียงให้ลดดอกเบี้ยตามคำขอของนายกฯ เศรษฐา ที่เรียกร้องทางแบงก์ชาติมาโดยตลอด
โอกาสปรับลดปีนี้
หากจะประเมินทิศทางดอกเบี้ยไทยหลังจากนี้ ในมุมมองนักเศรษฐศาสตร์ เป็นไปได้ทางเดียวกัน มีโอกาสปรับลด 1 ครั้งในช่วงครึ่งปีหลังปี 67 นี้ เหลือ 2.25% ขึ้นอยู่กับปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจว่าจะขยายตัวได้มากแค่ไหน ถ้าหากต่ำกว่าที่คาดมาก ก็จะมีโอกาสปรับลดลงได้ เพื่อช่วยพยุงเศรษฐกิจในช่วงท้ายปี ประกอบกับดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางประเทศหลักต่าง ๆ เช่น ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจปรับลดลงในช่วงครึ่งปีหลังได้เช่นกัน
แต่นั่นเป็นก่อนการประชุม กนง.ในรอบนี้ เพราะเมื่อมีเสียงแตก 2 เสียงที่ออกมา มุมมองของนักเศรษฐศาสตร์ นักวิเคราะห์ได้เปลี่ยนไป เนื่องจากอาจแสดงถึงทางแยกที่ดอกเบี้ยไทยกำลังเข้าสู่การลดดอกเบี้ยเร็วกว่าเดิม ซึ่งอาจเกิดขึ้นในช่วงกลางปีนี้ หรือในครั้งหน้ารอบการประชุมเดือน เม.ย. นี้เลยก็เป็นได้
เศรษฐกิจแผ่ว
ตามมติของคณะกรรมการ กนง. ที่ให้ 5 ต่อ 2 เสียง คงดอกเบี้ยนโยบาย ไม่ปรับลดในตอนนี้ อาจสวนทางเศรษฐกิจที่กำลังชะลอ โดย กนง.ได้ยอมรับว่าเศรษฐกิจไทยแผ่ว โดยเฉพาะปลายปี 66 ที่ผ่านมาทำให้การขยายตัวเศรษฐกิจ หรือจีดีพีทั้งปี 66 อาจไม่ถึง 2% และมีผลมาจนถึงปี 67 ขยายตัวเพียงแค่ 2.5-3% จากคาดเดิม 3.2% โดยไม่รวมการแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ตคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
กนง.ยังระบุว่า เศรษฐกิจไทยในปี 67 มีแนวโน้มขยายตัวชะลอลงจากภาคการส่งออกและการผลิต เนื่องจากอุปสงค์โลกและเศรษฐกิจจีนฟื้นตัวช้า รวมถึงปัจจัยเชิงโครงสร้างกระทบการขยายตัวของการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยวมากกว่าที่ประเมินไว้ แต่อุปสงค์ในประเทศยังขยายตัวต่อเนื่องและเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของเศรษฐกิจ ด้านอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ โดยมีแนวโน้มทยอยเพิ่มขึ้นเข้าสู่กรอบเป้าหมายช้ากว่าที่ประเมินไว้
แถมเศรษฐกิจไทยมีปัญหาเชิงโครงสร้าง โดยจากข้อมูลส่งออกไทยเทียบคู่แข่ง หลายปีที่ผ่านมาเติบโตช้ากว่าคู่แข่ง สะท้อนความสามารถทางการแข่งขันในต่างประเทศด้อยลง และในประเทศเริ่มมีปัญหา จากสินค้านำเข้ามาจากจีนเข้ามาเพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมา จีนนำเข้าเพิ่มมาตีตลาดไทย ทำให้ผู้ผลิตไทยต้องเจอความท้าทาย และนักท่องเที่ยว 2 ปีที่ผ่านมา ค่าใช้จ่ายต่อทริปลดลง จำนวนวันพักลดลง องค์ประกอบนักท่องเที่ยว อยู่สั้น ใช้จ่ายน้อยลง เป็นปัญหามากของเศรษฐกิจไทยในเวลานี้
เปิดรายชื่อ กนง.
สำหรับคณะกรรมการ กนง. 7 คน ประกอบด้วย นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ประธานกรรมการ, นางอลิศรา มหาสันทนะ รองประธานกรรมการ, นางรุ่ง มัลลิกะมาส กรรมการ, นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน กรรมการ, นายรพี สุจริตกุล กรรมการ, นายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการ และ นายสันติธาร เสถียรไทย กรรมการ
จำนวนกรรมการทั้งหมด 7 คน มีผู้ว่าการ ธปท. เป็นประธาน เนื่องจากเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการเพื่อให้สอดคล้องกับมติที่ กนง. กำหนด และเพื่อให้มีการเชื่อมโยงกับคณะกรรมการด้านนโยบายอื่นๆ ของ ธปท. นอกจากนั้น มีรองผู้ว่าการอีก 2 คน และผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกอีก 4 คน เป็นกรรมการใน กนง. เพื่อเป็นการถ่วงดุลอำนาจผู้ว่าการตามวัตถุประสงค์ของกฎหมาย กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจะมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 3 ปี และจะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกิน 2 วาระไม่ได้
ทำให้ยังต้องลุ้นต่อไปว่าหลังจากนี้ คณะกรรมการ กนง.ทั้ง 7 คนจะตัดสินใจอย่างไร กับทิศทางดอกเบี้ยไทยในเวลานี้ท่ามกลางแรงกดดันทางการเมืองอย่างหนัก อาจถึงทางเลือกในการประชุมรอบถัดไปในวันที่ 10 เม.ย. 67 แต่ที่แน่ ๆดอกเบี้ยไทยคงถึงเวลาลดลงสักวันในปีนี้ แค่ไม่ทันใจ “นายกฯ เศรษฐา” ที่ต้องการให้ลดลงทันที!!!.
นายกฯ ย้ำไม่ก้าวก่าย
“เศรษฐา ทวีสิน” นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ได้แสดงความเห็น หลังคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติ 5 ต่อ 2 เสียง ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.50% โดยระบุว่า น้อมรับมติของ กนง. เพราะไม่มีสิทธิไปก้าวก่าย และตนเองก็ไม่ได้มีธงว่า ต้องลดดอกเบี้ยลง เพราะทุกอย่างขึ้นอยู่กับตัวเลขและก็มีตัวเลขที่มีออกมาตลอดเวลา ถ้าตัวเลขบ่งชี้ว่า ไม่จำเป็นต้องลดตนเองก็จะออกมาบอกว่าเห็นต่างหรือเห็นด้วย หรือเห็นสมควร หรือต้องมีการโน้มน้าว หรือต้องมีการพูดคุย ก็ต้องทำต่อไป ส่วนเรื่องจะฝ่าวิกฤติความเห็นต่างไปได้หรือไม่นั้น ในเรื่องนี้ ต้องบอกว่าเป็นเรื่องสำคัญในสังคมไทย ในเมื่อเราเป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง มีประชาชนให้การสนับสนุนความเห็นต่าง จึงกลายเป็นเรื่องที่สังคมต้องยอมรับได้ และความเห็นต่างเราจำเป็นต้องบริหารความคาดหวัง ซึ่งต้องอยู่ภายใต้กรอบกฎหมายและภายใต้กรอบที่ไม่ก้าวร้าวกันและกันต้องบริหารจัดการกันไป
“น้อมรับและผมไม่มีสิทธิก้าวก่ายหน้าที่ผมคือให้ความคิดเห็นในฝ่ายรัฐบาลความเดือดร้อนพี่น้องประชาชนอยู่ตรงไหนเมื่อผลโหวตออกมาเป็นแบบนั้นตนไม่เห็นด้วย แต่ไม่มีสิทธิก้าวก่าย กนง.มีสิทธิอิสระในการดำเนินนโยบายการเงินแต่ผมอยากเห็นนโยบายการเงินการคลังไปด้วยกันและตอนนี้เงินเฟ้อติดลบ 4 เดือนแล้ว โดยนโยบายการคลังและนโยบายการเงิน ควรเดินไปด้วยกัน เพื่อทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้ดี”
เผยพูดคุยกันตามปกติ
“ปิติ ดิษยทัต” เลขานุการคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) แถลงระบุถึงการคงดอกเบี้ยนโยบาย 2.50% โดยมีมติ 5 ต่อ เสียง ซึ่งมี 2 เสียงเห็นควรให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% เพราะเห็นว่าเพื่อให้สอดคล้องกับศักยภาพการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ต่ำลงจากปัจจัยเชิงโครงสร้าง นอกจากนี้ดอกเบี้ยไทยต่ำมากเทียบในโลกการใช้นโยบายการเงินมีจำกัดในการแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างดอกเบี้ยไม่สามารถแก้ปัญหาการส่งออกและการผลิตได้ตรงจุดไม่ได้ช่วยให้การเพิ่มความสามารถทางการแข่งขันส่งออกได้อย่างยั่งยืนดอกเบี้ยไม่ได้เป็นเครื่องมือที่แก้ปัญหาด้วยตัวเอง และในระดับปัจจุบันที่ 2.50% นั้นยังสอดคล้องกับการขยายตัวของเศรษฐกิจ รวมทั้งเอื้อต่อการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินในระยะยาว แต่คณะกรรมการฯ ก็เห็นว่ายังมีความไม่แน่นอนสูงในระยะข้างหน้าจากปัจจัยวัฏจักรเศรษฐกิจและปัจจัยเชิงโครงสร้าง
“ส่วนแรงกดดันทางการเมืองที่ให้ลดดอกเบี้ยนั้นที่ผ่านมาเป็นการพูดคุยมาตลอดและการพูดคุยเป็นปกติเป็นเรื่องดีที่มีมุมมองหลายภาคส่วนให้มองหลายแง่มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนเหมือนในต่างประเทศเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์เป็นการแสดงความคิดเห็นเพื่อให้แน่ใจว่าเราไม่ได้ลืมอะไรไปทำให้ กนง.ดำเนินการรอบคอบเพราะเรื่องดอกเบี้ยกระทบเยอะมากทั้งคนฝากเงินกับกู้เงินและเพื่อให้กนง.ไตร่ตรองอย่างรอบคอบด้วย”
ไม่ตัดโอกาสลดดอกเบี้ย
“รุ่ง สงวนเรือง” ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมธุรกิจโกลบอลมาร์เก็ตส์ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ออกมาประเมินหลังจาก กนง.มีมติ 5 ต่อ 2 เสียงคงดอกเบี้ยนโยบายเอาไว้ที่ 2.50% จากถ้อยแถลงระบุว่า กนง.มองเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลงจากภาคการส่งออกและการผลิตเนื่องจากอุปสงค์โลกและเศรษฐกิจจีนฟื้นตัวช้ารวมถึงปัจจัยเชิงโครงสร้างกระทบการขยายตัวของการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยวมากกว่าที่ประเมินไว้แต่อุปสงค์ในประเทศยังขยายตัวต่อเนื่องและเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของเศรษฐกิจ การประชุม กนง.ในครั้งต่อไปจะเกิดขึ้นวันที่ 10 เม.ย. 67คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
“ในการประชุมรอบนี้ท่าทีของ กนง.แสดงความกังวลต่อภาวะการชะลอตัวทางเศรษฐกิจขณะที่กรรมการ 2 ท่านเห็นว่าควรปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% โดยมองว่า กนง.จะคงอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 2.50% ในอีกหลายไตรมาสข้างหน้า อย่างไรก็ตาม หลังการประกาศของ กนง. ก็ปรากฏว่า ค่าเงินบาทได้อ่อนค่าลงไปเช่นกันโดยอยู่ในระดับ 35.55 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และในภาพรวมปี 67 นี้ ค่าเงินบาทอ่อนค่าลง 4% และเป็นเงินบาทอีกเช่นกันที่อ่อนค่ามากที่สุดในกลุ่ม ขณะที่ กนง. ย้ำว่าค่าเงินบาทเคลื่อนไหวสอดคล้องกับค่าเงินอื่นๆ ในภูมิภาค แต่จากท่าทีในครั้งนี้ยังไม่ตัดความเป็นไปได้ที่อาจจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในช่วงกลางปีนี้เช่นกันหากเศรษฐกิจมีสัญญาณชะลอตัวรุนแรงกว่าที่ประเมินไว้”.
ทีมเศรษฐกิจ